วันพุธที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2560

ประโยชน์ของการแปรรูปผลไม้

ประโยชน์ของการแปรรูปผลไม้

ประโยชน์ที่ได้จากการแปรรูปผลไม้
1. การได้ทำลายสารที่เป็นพิษในอาหาร 
2. ช่วยถนอมอาหาร ทำให้มีกลิ่นและรสชาติดีขึ้น 
3. สามารถจำหน่ายได้สะดวกขึ้น 
4. เพิ่มความเข้มข้นของอาหาร
5. การแปรรูปอาหารในสมัยใหม่ยังช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ โรคเบาหวาน และผู้ที่ไม่สามารถบริโภคอาหารได้อย่างปกติ และสามารถเติมสารอาหารที่เป็นประโยชน์ได้อีกด้วย

วิธีการทำมะยมเชื่อม

วิธีการทำมะยมเชื่อม

1. ล้างมะยมให้สะอาด แล้วนำไปคลึงในกระด้งหรือถาดที่ไม่ลื่น คลึง ๆ ด้วยสาก หรือขวดใส่น้ำ คลึงให้ทั่วเพื่อให้น้ำมะยมออกมา จากนั้นก็นำมะยมไแช่น้ำปูนใส 30 นาที

2. ครบ 30 นาที ล้างมะยมให้สะอาด นำมะยมใส่หม้อหุงข้าว เติมน้ำเปล่าลงไป

3. ใส่น้ำตาลทรายและเกลือลงไป คน ๆ ให้น้ำตาลและเกลือละลาย

4. ปิดฝา กดไฟ เชื่อมไปเรื่อย ๆ ประมาณ 40-60 นาที หรือจนกว่าจะได้สีของมะยมเป็นสีแดงตามที่ต้องการ พยายามอย่าคนบ่อยเดี๋ยวมะยมจะเละ เพราะไม่ได้แช่น้ำปูนใส นาน ๆ ไปดูทีเผื่อจะไหม้ ถ้ามีฟองก็ช้อนฟองออก เวลาน้ำเชื่อมเดือดก็แง้มฝาไว้เดี๋ยวจะล้นหม้อ ถ้าน้ำเชื่อมงวดมากไปแต่ยังไม่ได้สีมะยมตามที่ต้องการก็เติมน้ำ เติมน้ำตาลทราย ลงไปได้อีก แล้วก็เคี่ยวไปจนกว่าจะได้สีที่เป็นที่น่าพอใจ แต่สำหรับเราใช้เวลาเชื่อมทั้งหมด 60 นาที

5. ครบ 60 นาที หรือได้สีตามต้องการแล้วก็ปิดไฟยกลงตั้งทิ้งไว้ให้เย็น แล้วหากล่องใส่เก็บไว้รับประทานได้อีกนานเลย

ส่วนผสมการทำมะยมเชื่อม

อัตราส่วนและส่วนผสมการทำมะยมเชื่อม

1. มะยม 500 กรัม

2. น้ำตาลทรายขาว 500 กรัม หรือมากกว่านั้นตามชอบ

3. เกลือ 1 ช้อนชา

4. น้ำปูนใส

5. น้ำเปล่า




การปลูกมะยม

การปลูกมะยม

การปลูกมะยมนิยมใช้วิธีการเพาะเมล็ด โดยการนำผลมะยมที่แก่จัด และหล่นจากต้น ทั้งนี้ ควรเลือกต้นแม่ที่มีกิ่งมาก ให้ผลดก ผลมีขนาดใหญ่สม่ำเสมอ ส่วนผลที่นำมาเพาะ ควรเป็นผลมีลักษณะอวบใหญ่

หลังจากที่ได้ผลมะยมมาแล้ว หากไม่รีบ ให้ปล่อยผลมะยมเน่าเปื่อยจนเหลือแต่เมล็ด หรือ ให้ปอกเนื้อมะยมออกให้หมดจนเหลือแต่เมล็ด แล้วนำเมล็ดมาตากแดดจนแห้ง

หลังจากได้เมล็ดมะยมแห้งแล้ว ให้นำมาแช่ในน้ำร้อนประมาณ 1 นาที ก่อนลงเพาะในถุงเพาะชำ หรือ นำเมล็ดฝังดินบริเวณที่ต้องการให้เกิด ซึ่งให้ใส่เมล็ดประมาณ 2-3 เมล็ด/หลุม เมื่อกล้ามะยมเกิดแล้วค่อยถอนต้นออกให้เหลือต้นที่สมบูรณ์ที่สุดเพียงต้นเดียว

นอกจาก การเพาะด้วยเมล็ดเองแล้ว เราสามารถหาต้นกล้ามะยมที่เกิดใต้ต้นมะยมที่มีลำต้นสูง 10-20 ซม. ย้ายออกปลูกตามจุดที่ต้องการได้ ซึ่งวิธีนี้จะง่าย และสะดวกที่สุด

สรรพคุณของมะยม

สรรพคุณของมะยม

1. สรรพคุณของมะยม ผลใช้เป็นยาระบาย
2. ใช้แก้น้ำเหลืองเสียให้แห้ง (ราก)
3. ช่วยรักษาเม็ดผดผื่นคันหรือแก้โรคประดง (โรคผื่นคันตามผิวหนัง) ด้วยการใช้รากประมาณ 1 กิโลกรัมนำมาต้มกับน้ำ 10 ลิตร ต้มให้เดือดประมาณ 10 นาที ทิ้งไว้ให้อุ่นแล้วนำมาอาบ และควรทำควบคู่ไปกับการใช้รากฝนกับน้ำซาวข้าวทาบริเวณผดผื่นที่เป็นด้วย (ราก)


4. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (ราก)
5. มะยมมีประโยชน์ช่วยแก้อาการปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ โรคไขข้ออักเสบ ด้วยการนำผลมาตำรวมกับพริกไทยแล้วพอกบริเวณที่ปวด
6. นิยมรับประทานเป็นผลไม้สดและมีการนำมาประกอบอาหาร เช่น ใช้ทำส้มตำ ยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักสดกินกับน้ำพริก ลาบ ขนมจีน ส้มตำ
7. มีการนำมาแปรรูปได้หลากหลาย เช่น มะยมแช่อิ่ม มะยมดอง มะยมเชื่อม น้ำมะยม มะยมแยม มะยมกวน หรือนำมาใช้ทำเป็นน้ำส้มสายชู
8. สรรพคุณใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ด้วยการใช้ผลแก่นำมาดองในน้ำเชื่อมจนครบ 3 วัน (น้ำ 1 ส่วน / น้ำตาล 3 ส่วน) แล้วนำมารับประทานวันละ 1 ช้อนโต๊ะ
9. มะยมมีสรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต ด้วยการใช้ผลแก่นำมาดองในน้ำเชื่อมจนครบ 3 วัน (น้ำ 1 ส่วน / น้ำตาล 3 ส่วน) แล้วนำมารับประทานวันละ 1 ช้อนโต๊ะ
10.ดอกสดของมะยม นำมาต้มกรองเอาแต่น้ำใช้แก้โรคตา ชำระล้างดวงตา (เป็นสูตรโบราณ ปัจจุบันไม่ขอแนะนำให้ทำ)

11.สรรพคุณช่วยแก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ ด้วยการใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำดื่ม (เปลือกของลำต้น)
12. ช่วยแก้ไข้ (ราก)
13. สรรพคุณมะยม น้ำมะยมช่วยต้านหวัดได้เพราะมีวิตามินซีสูง
14. ผลมะยมมีฤทธิ์กัดเสมหะ ดับพิษเสมหะ ด้วยการรับประทานผลสุกหรือดิบก็ใช้ได้

วันพฤหัสบดีที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2560

ประโยชน์ของมะยม

ประโยชน์ทางยา

รสและสรรพคุณในตำรายา

ราก รสจืด เป็นยาแก้โรคผิวหนัง เม็ดผดผื่นคัน ช่วยขับน้ำเหลือง ดับพิษเสมหะโลหิต ประดง ทาแก้คัน สูดไอร้อนแก้ไอ แก้หืดหอบ แก้ปวดศีรษะ น้ำยางเปลือกรากมีพิษเล็กน้อย ถ้ากินเข้าไปจะมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ปวดศีรษะและง่วงซึม

เปลือกต้น รสจืด แก้ไข้ทับระดู หรือแก้ไข้เพื่อโลหิต แก้ผดผื่นคัน

ใบ รสจืดมัน เป็นยาแก้ไอ บำรุงประสาท ขับเสมหะ แก้พิษไข้อีสุกอีใส ปรุงเป็นส่วนประกอบของยาเขียวรับประทานดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ไข้ตัวร้อน ไข้หัวต่าง ๆ แก้โรคหัดเหือด ต้มรวมกับใบหมากผู้หมากเมีย ใบมะเฟือง อาบแก้ผื่นคัน พิษไข้หัว เหือด หัด สุกใส ดำแดง และฝีดาษ น้ำต้มใบดื่มพร้อมผลเป็นยาขับเหงื่อ

ดอก รสเปรี้ยวฝาด ใช้ล้างและชำระฝ้านัยน์ตา แก้โรคในตาได้ดี

ผล รสเปรี้ยวสุขุม กัดเสมหะ แก้ไอ บำรุงโลหิต และระบายท้อง โขลกรวมกับพริกไทยเป็นยาพอกแก้ปวดกล้ามเนื้อ และปวดหลัง น้ำต้มใบดื่มพร้อมกับผล เป็นยาขับเหงื่อ ผลรับประทานได้ทั้งดิบและสุก มีรสเปรี้ยว มีฤทธิ์เป็นกรด ใช้ทำแยมหรือเชื่อมก็ได้ เป็นยาฝาดสมาน แก้หลอดลมอักเสบ และขับปัสสาวะ

กาฝากมะยม ใช้ต้มเอาน้ำดื่มช่วยให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ มีวิตามินซี ใช้เป็นยาลดบุหรี่ เลิกบุหรี่


วิธีและปริมาณที่ใช้


1. แก้ไข้ทับระดู หรือแก้ไข้เพื่อโลหิต โดยใช้เปลือกต้นสด 1 ฝ่ามือ หรือประมาณ 30-50 กรัม นำมาสับเป็นชิ้น ต้มในน้ำ 1 ลิตร เคี่ยวให้เหลือครึ่งหนึ่ง กรองเอาน้ำดื่ม เช้า-เย็น

2. แก้ไอ ปวดศีรษะ โรคผิวหนัง เม็ดผดผื่นคัน โดยใช้รากสดประมาณ 1 กำมือ หรือ 50 กรัม ล้างให้สะอาดต้มในน้ำ 1 ลิตร กรองเอาน้ำดื่มเป็นประจำ

3. ชำระล้างและชำระฝ้านัยน์ตา โดยใช้ดอกสดนำมาต้มแล้วกรองเอาน้ำมาชำระล้าง

มะยม

มะยม

ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phyllanthus acidus (L.) Skeels

ชื่อพ้อง : Phyllanthodendron acidus (L.) Skeel

ชื่อสามัญ : Star gooseberry

ชื่อพื้นเมืองอื่น : มะยม (ทั่วไป) ; หมักยม, หมากยม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ-อุดรธานี) ; ยม (ภาคใต้)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้นขนาดเล็ก (ExST) สูงประมาณ 3-10 เมตร ลำต้นตั้งตรงเปลือกต้นเป็นปุ่มปม ขรุขระ สีเทาปนน้ำตาล แตกกิ่งก้านแผ่กระจาย กิ่งก้านเปราะและแตกง่าย

ใบ เป็นใบรวม มีใบย่อยออกเรียงสลับกันเป็น 2 แถวบนกิ่งที่เรียงอยู่รอบ ๆ ใกล้ปลายกิ่ง ลักษณะใบรูปขอบขนานกลมหรือรูปค่อนข้างเป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน โคนใบมน ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม แผ่นใบบาง สีเขียวอ่อน หรือเขียวอมเหลือง ท้องใบหรือด้านล่างสีนวล ก้านใบสั้น

ดอก ออกดอกเป็นช่อเล็ก ๆ แบบช่อแยกแขนง ออกช่อดอกตามลำต้น หรือกิ่งที่ไร้ใบ ช่อดอกสีชมพู ส่วนดอกมีขนาดเล็ก กลม กลีบดอกรูปทรงกลม หรือรูปทรงกลมแกมรูปไข่สีเขียวอ่อน หรือดอกแดงเรื่อ ๆ เป็นดอกแบบสมมาตรตามรัศมี

ผล ลักษณะผลกลมแป้นห้อยเป็นพวงระย้า ตามกิ่งและลำต้น มีขนาดเล็ก ด้านบนบุ๋ม ด้านล่างแบน ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน และจะออกสีเหลืองอมขาวเมื่อแก่

เมล็ด กลมแข็งและเป็นเหลี่ยม มีหนึ่งเมล็ด

บทนำ

ที่มา และความสำคัญ
ต้นมะยมเป็นต้นไม้ที่คนไทยรู้จักกันมานาน เนื่องจากความเชื่อในตำราพรหมชาติฉบับหลวง ระบุไว้ว่าให้ปลูกต้นมะยมในทางทิศตะวันตก จะช่วยป้องกันสิ่งไม่ดีไม่ให้มากล้ำกราย และเชื่อว่ามะยมเป็นต้นไม้มงคลนาม ซึ่งคล้ายกับคำว่า “นิยม” ซึ่งเชื่อว่าผู้ปลูกจะมีเมตตามหานิยม จึงทำให้ผู้คนนิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย อีกทั้งต้นมะยมยังให้ผลที่มีสรรพคุณที่เป็นประโยชน์ได้มากมาย คนไทยในสมัยก่อนจึงได้มีการคิดริริ่มที่จะเก็บถนอมอาหาร ให้มะยมใช้รับประทานได้นานหลายเดือน เช่น มะยมแช่อิ่ม มะยมเชื่อม มะยมดอง เป็นต้น

วัตถุประสงค์
1) เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับมะยม
2) เพื่อเก็บรักษามะยมได้นานขึ้น


ระยะเวลาดำเนินงาน 
17 สิงหาคม 60 - 14 กันยายน 60

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) สามารถอธิบายและทำมะยมเชื่อมได้
2) เพิ่มมูลค่าให้มะยมได้
3) เก็บมะยมได้นานขึ้น

สมาชิกกลุ่ม

1.นายสพล ตั้งทรงเจริญ ม.6/1 เลขที่ 10

2.นายกานต์ คำคูณเมือง ม.6/1 เลขที่ 11

3.นายณัชพล นันทประทีป ม.6/1 เลขที่ 17

4.นายพฤฒิพงศ์ เพ็ชรเอี่ยม ม.6/1 เลขที่ 18

5.นายพงศกร ชาวราษฎร์ เลขที่ 20

6.นายกานต์ อึ้งอโนทัย ม.6/1 เลขที่ 21